เมนู

นิโรธสมาปัตติญาณนิเทส


[ 217 ] ปัญญาในความเป็นผู้มีความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้
ประกอบด้วยพละ 2 ด้วยความระงับสังขาร 3 ด้วยญาณจริยา 16 และ
ด้วยสมาธิจริยา 9 เป็นนิโรธสมาปัตติญาณอย่างไร ?
คำว่า ด้วยพละ 2 ความว่า พละ 2 คือสมถพละ 1 วิปัสสนา-
พละ 1.
[218] สมถพละเป็นไฉน ? ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว
ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ ด้วยสามารถแห่งความไม่พยา-
บาท ด้วยสามารถแห่งอาโลกสัญญา ด้วยสามารถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน
ฯลฯ ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ด้วย
สามารถแห่งการพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละแด่
ละอย่าง ๆ.
[219] คำว่า สมถพลํ ความว่า ชื่อว่าสมถพละ เพราะ
อรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ ด้วย
ปฐมฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะวิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน ไม่หวั่นไหว
เพราะปีติ ด้วยตติยฌาน ไม่หวั่นไหวเพราะสุขและทุกข์ ด้วยจตุตถฌาน
ไม่หวั่นไหวเพราะรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสา-

นัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วย
วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหวเพราะอากิญจัญญายตนสัญญา
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่งไม่
คลอนแคลน เพราะอุทธัจจะ เพราะกิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะ และ
เพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าสมถพละ.
[220] วิปัสสนาพละเป็นไฉน ? อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัส-
นา อนัตตานุปัสนา นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา
ปินิสสัคคานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ฯลฯ การ
พิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ฯลฯ ในเวทนา ในสัญญา ใน
สังขาร ในวิญญาณ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ ใน
ชราและมรณะ ฯล ฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ
เป็นวิปัสสนาพละแต่ละอย่าง ๆ.
[221] คำว่า วิปสฺสนาพลํ ความว่า ชื่อว่าวิปัสสนาพละ
เพราะอรรถว่ากระไร ?
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิจ-
สัญญา ด้วยอนิจจานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญา ด้วยทุกขา-
นุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะอัตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสนา ไม่หวั่น-
ไหวเพระความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทานุปัสนา ไม่หวั่นไหว เพราะ
ความกำหนัด ด้วยวิราคานุปัสนา ไม่หวั่นไหว เพราะสมุทัย ด้วย

นิโรธานุปัสนา ไม่หวั่นไหวเพราะความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา
ไม่หวั่นไหว ไม่กวัดแกว่ง ไม่คลอนแคลน เพราะอวิชชา เพราะ
กิเลสอันสหรคตด้วยอวิชชา และเพราะขันธ์ นี้ชื่อว่าวิปัสสนาพละ.
[222] คำว่า ด้วยการระงับสังขาร 3 ความว่า ด้วยการ
ระงับสังขาร 3 เป็นไฉน ? วิตกวิจารเป็นวจีสังขารของท่านผู้เข้าทุติย-
ฌานระงับไป ลมอัสสาสปัสสาสะเป็นกายสังขารของท่านผู้เข้าจตุตถ-
ฌานระงับไป สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขารของท่านผู้เข้าสัญญา-
เวทยิตนิโรธ ระงับไปด้วยการระงับสังขาร 3 เหล่านี้.
[223] คำว่า ด้วยญาณจริยา 16 ความว่า ด้วยญาณ-
จริยา 16 เป็นไฉน ? อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา อนัตตานุปัสนา
นิพพิทานุปัสนา วิราคานุปัสนา นิโรธานุปัสนา ปฏินิสสัคคานุปัสนา
วิวัฏฏนานุปัสนา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิ-
มรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ
อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยาแต่ละอย่าง ๆ ด้วยญาณ-
จริยา 16 นี้.
[224] คำว่า ด้วยสมาธิจริยา 9 ความว่า ด้วยสมาธิจริยา
9 เป็นไฉน ? ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสา-
นัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นสมาธิจริยาแต่ละอย่าง ๆ วิตกวิจาร

ปีติ สุข และเอกัคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ
วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกกัคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้เนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ด้วยสมาธิจริยา 9 นี้.
[225] คำว่า วสี ความว่า วสี 5 ประการ คือ อาวัชช-
นาวสี 1 สมาปัชชนาวสี 1 อธิฏฐานวสี 1 วุฏฐานวสี 1 ปัจจเวก-
ขณวสี 1.
สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึงถึงปฐมฌานได้ ถามที่และขณะ
ตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึง
ชื่อว่าอาวัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลเข้าปฐมฌานได้ ณ สถานที่และ
ขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้นจึง
ชื่อว่าสมาปัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคล อธิฏฐานปฐมฌานได้ ณ
สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิฏฐาน
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอธิฏฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลออกปฐมฌานได้
ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นข้าในการออก็เพราะ
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าวุฏฐานวสี สมาปัตติลาภีบุคคลพิจารณาปฐมฌานได้
ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปัจจเวกขณวสี สมาปัตติลาภีบุคคลคำนึ่งถึงทุติย-
ฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะ
ตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึง

ชื่อว่าอาวัชชนาวสี สมาปัตติลาภีบุคคลเข้า ฯลฯ อธิฏฐาน ออก
พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่
ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า
ปัจจเวกขณวสี วสี 5 ประการนี้.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในความเป็นผู้มี
ความชำนาญ ด้วยความเป็นผู้ประกอบด้วยพละ 2 ด้วยความระงับ
สังขาร 3 ด้วยญาณจริยา 6 และด้วยสมาธิจริยา 9 เป็นนิโรธสมา-
ปัตติญาณ.


34. อรรถกถานิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส


[217 - 225] พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธสมาปัตติญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้.
บทว่า สมถพลํ - สมถพละ ความว่า ชื่อว่า สมถะ เพราะ
อรรถว่า สงบธรรมเป็นข้าศึกมีกามฉันทะเป็นต้น. สมถะนั่นแหละ
ชื่อว่าเป็นพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. เพราะพระอนาคามีและ
พระอรหันต์นั่นแหละเป็นผู้ถึงความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ ด้วย
การละกามฉันทะอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ ท่านจึงทำสมาธิของพระ-